
- ภาพคนยืน ซึ่งหมายถึงเทวดาที่ประทานพรให้แก่ชาวเมืองและกองทัพที่กำลังจะออกไปทำศึก
- ภาพต้นมะเดื่อที่ขนาบอยู่สองข้าง ซึ่งในจังหวัดชุมพรมีต้นไม้ชนิดนี้อยู่เป็นจำนวนมาก รวมถึงเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดชุมพรด้วย
- ภาพค่ายและหอรบ หมายถึงจังหวัดนี้เคยเป็นที่ชุมนุมของบรรดานักรบทั้งหลาย ซึ่งนัดให้มาพร้อมกัน ณ ที่แห่งนี้ ก่อนที่จะเดินทัพออกไปสู้รบกับข้าศึก เพราะว่าในสมัยโบราณชุมพรนั้นเป็นเมืองหน้าด่าน

(ธงพื้นสีน้ำเงิน กลางมีภาพตราประจำจังหวัด)

ชื่อทั่วไป |
ต้นมะเดื่ออุทุมพร |
ชื่อสามัญ |
Cluster Fig |
ชื่อวิทยา |
Ficus racemosa Linn. |
วงศ์ |
LAURACEAE |
ชื่ออื่น ๆ |
มะเดื่อ มะเดื่อชุมพร กูแซ เดื่อเกลี้ยง เดื่อน้ำ มะเดื่อ |
ถิ่นกำเนิด |
ถิ่นกำเนิดในศรีลังกา จีนตอนใต้ เอเชียใต้ และตะวันออกเฉียงใต้ |
ประเภท |
ไม้ยืนต้น |
รูปร่างลักษณะ |
ไม้ต้นผลัดใบ สูง 5 - 20 เมตร กิ่งอ่อน มีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมบาง ๆ ต่อมาจะหลุดร่วง ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปหอก ปลายใบแหลม โดคนใบทู่ถึงกลม ก้านใบยาว 10.5 เซนติเมตร ดอกเล็ก ออกเป็นกระจุก ผลรูปไข่กลับ เมื่อสุกสีแดงเข้มถึงสีม่วง |
การขยายพันธุ์ |
โดยการเพาะเมล็ดในถุงเพาะกล้าจนงอก และแข็งแรงก่อนจึงย้ายไปปลูกลงดิน และปักชำกิ่ง |
สภาพที่เหมาะสม |
ดินร่วน และมีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำได้ดี |
ประโยชน์ |
ปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้ง |

ชื่อทั่วไป |
ดอกพุทธรักษา |
ชื่อสามัญ |
Butsarana |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Canna indica Linn. |
วงศ์ |
CANNACEAE |
ลักษณะทั่วไป |
พุทธรักษา เป็นพรรณไม้ล้มลุก เนื้ออ่อนอวบน้ำ ลำต้นสูงประมาณ 1- 2เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า เจริญเติบโตโดยแตกหน่อเป็นกอ คล้ายกล้วย ใบมีขนาดใหญ่สีเขียว โคนใบและปลายใบรีแหลมขอบใบเรียบ กลางใบเป็นเส้นนูนเห็นชัด ใบมีก้านยาวเป็นกาบใบหุ้มลำต้นซ้อนสลับกัน ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้นช่อดอกเป็น ช่อดอกยาวประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอก8 - 10 ดอก และมีกลีบบางนิ่ม ขนาดของดอกและสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์ |
การขยายพันธุ์ |
การเพาะเมล็ด การแตกหน่อ |
สภาพที่เหมาะสม |
ดินร่วนซุย แสงแดดจัดกลางแจ้ง |
ถิ่นกำเนิด |
ประเทศอินเดีย |